กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

ไอ จาม มีน้ำมูก ติดเชื้อ Covid-19 หรือเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดากันแน่? หาคำตอบได้แล้วที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ติดเชื้อ Covid-19 ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มักไม่รู้ตัวว่า ตนเองได้รับเชื้อ เนื่องจากมักไม่มีอาการแสดงออกมาในช่วงแรก ต่างจากโรคไข้หวัดธรรมดาที่เมื่อรับเชื้อไป 1-2 วันแรกก็แสดงอาการออกมาให้เห็นแล้ว 
  • การวินิจฉัยโรคไข้หวัดธรรมดาทำได้ไม่ยาก แต่การตรวจหาเชื้อไวรัส Covid-19 จะต้องมีการตรวจเลือด หรือของเหลวหลังโพรงจมูกแล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
  • การรักษาอาการไข้หวัดธรรมดาทำได้ง่ายๆ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น รับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้  แต่การรักษาการติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น และมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้ หากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงอยู่แล้ว
  • อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา และการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อความมั่นใจ และเพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสม หากไม่ได้ออกไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพบปะผู้คนที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้ป่วยจึงควรไปตรวจสุขภาพเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการให้แน่ใจ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกตรวจ Covid-19

ในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ หลายคนเมื่อมีอาการผิดปกติระบบทางเดินหายใจ รู้สึกจมูกไม่ได้กลิ่นอย่างที่เป็นปกติ ก็อาจสงสัยว่า ตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเป็นไข้หวัดธรรมดากันแน่ 

วันนี้เราจะมาแจกแจงอาการของโรคไข้หวัดธรรมดา กับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ว่า แตกต่างกันอย่างไร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคไข้หวัดธรรมดากับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีที่มามาจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แต่ความรุนแรงของทั้ง 2 โรคนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่ ดังต่อไปนี้

1. การแสดงอาการ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ไปแล้วส่วนมากจะแสดงอาการช้ากว่าผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดา 

โดยผู้ป่วยที่ติดไวรัส Covid-19 หลายรายจะไม่มีอาการผิดปกติเลยในช่วง 2-14 วันแรกที่ติดเชื้อ แต่มาแสดงอาการชัดเจนเมื่อเชื้อลุกลามหนักมากขึ้นแล้ว ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก โดยอาการมักจะเริ่มแสดงหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 5-6 วัน

นอกจากนี้ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นที่ไม่รู้ว่า ตนเองติดเชื้อ ผู้ป่วยก็อาจแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนรอบข้างแล้ว ซึ่งก็จะยิ่งยากต่อการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดหนักขึ้นไปอีก 

ในขณะที่โรคไข้หวัดธรรมดา จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ช่วง 1-2 วันแรกหลังรับเชื้อ และมีสัญญาณบอกอาการป่วยค่อนข้างชัดเจน เช่น เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับการติดเชื้อไวรัส Covid-19 อีกทั้งมักรักษาได้ง่าย พักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถหายได้แล้ว 

อีกทั้งโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดายังต่ำมากด้วย แม้แต่อาการที่ลุกลามรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นได้น้อย ยกเว้นแต่ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรงตั้งแต่แรก  หรือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเป็นผู้สูงอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การพักรักษาตัว

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดาสามารถพักฟื้นเองที่บ้านได้ และมีวิธีรักษาโรคไม่ซับซ้อนมาก เช่น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • การดื่มน้ำมากๆ และควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อช่วยล้างเสมหะที่ทำให้ระคายเคืองคอ รวมถึงทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง
  • รับประทานยาแก้แพ้ หรือต้านฮีสตามีน (Antihistamines) หรือยาหดหลอดเลือด (Decongestants) เพื่อบรรเทาอาการมีน้ำมูก และคัดจมูก
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเมื่อมีไข้ เพื่อให้ร่างกายสบายตัว และลดอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น
  • หมั่นล้างมือให้สะอาด งดการออกไปในที่สาธารณะชั่วคราวเพื่อป้องกันการนำเชื้อไปให้ผู้อื่น และป้องกันไปการสัมผัสสิ่งสกปรกนอกบ้าน

เพียงทำตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ผู้ป่วยโรคไข้หวัดธรรมดาก็สามารถรักษาตนเองให้หายได้แล้ว และยังควรไปเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม และรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของตนเอง

ในขณะที่ผู้ป่วยเชื้อติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น วิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับอาการที่หนักเบาไม่เท่ากันของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนมากจากการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น 

การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถรักษาให้หายได้ เห็นได้จากยอดผู้ที่หายจากโรคนี้ซึ่งก็มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่เช่นกัน แต่อาจต้องใช้เวลา และควรตรวจพบเชื้อตั้งแต่อาการยังไม่หนัก 

ดังนั้นหากคุณมีอาการคล้ายติดเชื้อไวรัส Covid-19 จึงควรรีบไปพบแพทย์ และแจ้งอาการที่เกิดขึ้นให้ทราบโดยทันที 

3. การวินิจฉัยโรค

โรคไข้หวัดธรรมดามีวิธีวินิจฉัยที่ไม่ยากมาก อาจไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาลก็ได้ แต่สามารถไปขอรับการตรวจที่คลินิกใกล้บ้าน ทางแพทย์ก็สามารถวินิจฉัยได้แล้วว่า เป็นโรคไข้หวัดธรรมดา และผู้ป่วยจะได้รับการจ่ายยา พร้อมรับคำแนะนำเพื่อกลับไปดูแลตนเองต่อที่บ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ทำได้ยากกว่า และมีกระบวนการซับซ้อนกว่ามาก อีกทั้งในปัจจุบันตัวเชื้อไวรัสตัวนี้ได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ทีมแพทย์ผู้ตรวจต้องยิ่งใช้ความแม่นยำ และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อวินิจฉัยในการตรวจ

อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อที่มีการกระจายตัวออกไปสูง ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อไวรัส Covid-19 จึงสามารถทำได้หลายวิธีมากขึ้น ได้แก่ การเจาะเลือด และการเก็บตัวอย่างของเหลวหลังโพรงจมูก

อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา และการติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความใกล้เคียงกันอยู่ จึงทำให้หลายคนหวาดระแวง และสงสัยว่า ตนเองป่วยเป็นอะไรกันแน่

หากตรวจดูตารางการดำเนินชีวิตของตนเองแล้ว คุณมั่นใจว่า ตนเองไม่ได้ไปในพื้นที่เสี่ยงภัย หรือไม่ได้ออกไปไหนเลย รวมถึงไม่ได้สัมผัสสิ่งสกปรก หรือพบเจอผู้คนที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มาก่อน ก็อาจไปขอพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลเพื่อขอรับการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยให้แน่ใจ

แต่หากก่อนหน้านั้น คุณได้มีโอกาสไปพบปะผู้คน หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 มาก่อน รวมถึงไปในประเทศที่เสี่ยง หรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างมาก ก็ควรไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อความมั่นใจจะดีที่สุด 

ในช่วงที่โรคกำลังระบาดอย่างหนักแบบนี้ คุณควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สะอาดเสมอ หลีกเลี่ยงการออกไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือหากเพิ่งเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงมา ก็ควรกักตัว 14 วันเพื่อรอดูอาการเจ็บป่วยที่อาจขึ้นในระหว่างนั้น 

นอกจากนี้อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว และหมั่นล้างมือทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเป็นประจำด้วย รวมถึงรักษาระยะห่างระหว่างกันเมื่ออยู่นอกบ้าน (Social distancing) และหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น 

เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ไปได้มากแล้ว และอย่าลืมบอกต่อคนใกล้ชิดให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อที่ไม่ใช่แค่คุณเท่านั้นที่จะปลอดภัยจากเชื้อ แต่ยังรวมไปถึงคนในครอบครัว และคนที่คุณรักเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจโควิด รพ. เกษมราษฎร์ ประชาชื่น แบบ RT-PCR | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด ATK พร้อมใบรับรองแพทย์ ที่ MN Medical Care | HDmall
รีวิว ประสบการณ์ ติดโควิดแบบไม่แสดงอาการ | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด ที่ โรงพยาบาลปิยะเวท | HDmall
รีวิว ตรวจโควิด Drive Thru ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 | HDmall
รีวิวยาต้านโควิด ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) | HDmall
รีวิว ไปโรงพยาบาลช่วงโควิด-19 ระบาด ปลอดภัยไหมนะ | HDmall
รีวิว สวอปตรวจโควิด แหย่จมูก PCR ที่ โรงพยาบาลรัฐบาล | HDmall
รีวิว ตรวจสุขภาพโปรแกรม Long COVID-19 ติดตามอาการหลังหายจากโควิด ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน mRNA คืออะไร? ทำงานอย่างไร? ต่างจากวัคซีนชนิดอื่นๆ อย่างไร? มียี่ห้อใดบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/what-is-a-mrna-vaccine).
NHS, Check if you have coronavirus symptoms (https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/check-if-you-have-coronavirus-symptoms/), 23 May 2020.
Mayo Clinic Staff, Coronavirus disease 2019 (COVID-19) (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/symptoms-causes/syc-20479963), 23 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

รวมข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 14 วัน และมีอาการอย่างไร จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล

อ่านเพิ่ม