กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัส Covid-19 เป็นเชื้อโคโรนาที่กลายพันธุ์ใหม่ ส่วนเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นเชื้อไวรัสชื่อว่า "เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา" จัดเป็น
  • คุณสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ส่วนวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอดเพิ่งคิดค้นได้สำเร็จในช่วปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และในประเทศไทยก็มีแผนที่จะแจกจ่ายวัคซีนเพื่อฉีดให้คนไทยในช่วงกลางปี 2564
  • ระยะการฟักตัวของเชื้อไวรัส Covid-19 จะนานกว่าโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่เมื่อได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วันก็จะเห็นอาการป่วยแล้ว ในขณะที่หากติดเชื้อไวรัส Covid-19 อาการจะเริ่มแสดงเมื่อผ่านไปแล้วถึง 5-6 วัน หรืออาจนานถึง 14 วัน
  • การติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีความเสี่ยงที่จะทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยลุกลามรุนแรงขึ้นจนเสียชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19

หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผ่านมาได้สักพักแล้ว หลายคนคงเริ่มสังเกตว่า อาการหลังจากติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะใกล้เคียงกับกลุ่มโรคไข้หวัด ทั้งไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ (Flu)

เรามาดูความแตกต่างของทั้ง 2 โรคนี้กันว่า เป็นอย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด

ก่อนอื่นทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่นั้น มาจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งก็จะมีสายพันธุ์แตกต่างกันไปตามภูมิภาค และแต่ละประเทศ

ส่วนเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น มาจากเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ได้รับการค้นพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 แล้ว แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใหม่จนเกิดเป็นโรคระบาดในปี 2019 จึงได้ชื่อว่า "เชื้อไวรัส Covid-19" นั่นเอง

2. วัคซีนป้องกัน

เพราะทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ 

สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ คุณสามารถเข้ารับการฉีดได้ทุกปี โดยในทุกๆ ปี ทางโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งก็จะมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งผลจากการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่เลย

แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคนี้ได้ และเมื่อคุณป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นมา อาการก็จะไม่รุนแรงมาก และหายได้เร็วขึ้น

ส่วนวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ในช่วงปลายปี 2563 ทางมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอดได้เพิ่งประกาศว่า ได้คิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางรัฐบาลไทยก็ได้วางแผนที่จะจองซื้อวัคซีนเข้ามาฉีดให้กับประชาชนชาวไทยด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ประกาศว่า ประเทศไทยก็ได้เริ่มผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 ภายในประเทศแล้วเช่นกัน และมีแผนที่จะเริ่มทยอยส่งมอบในช่วงกลางปี 2564 นี้

3. ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวของผู้ติดเชื้อทั้งเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโรค Covid-19 นั้นมีความแตกต่างกัน 

โดยผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากได้รับเชื้อมาไม่เกิน 1-3 วันก็จะเริ่มมีอาการออกมา โดยอาการหลักๆ ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ 

ส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 นั้น ในช่วงแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นเลย และอาการจะเริ่มแสดงออกมาหลงจากเวลาผ่านไปแล้ว 5-6 วัน หรืออาจนานถึง 14 วันก็ได้

โดยอาการหลักๆ ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้แก่

  • หายใจเร็วขึ้นผิดปกติ หรือหายใจถี่
  • มีน้ำมูก
  • ไอแห้งผิดปกติ
  • เจ็บคอเรื้อรัง
  • มีไข้สูงขึ้น
  • เจ็บหน้าอก
  • จมูกไม่รับกลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรสชาติ

อันตรายร้ายแรงอีกอย่างจากเชื้อไวรัส Covid-19 นั่นก็คือ มันสามารถเพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตของผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วได้ด้วย เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้จากการตรวจสมรรถภาพของปอดผู้ป่วย และผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัส Covid-19 ยังพบว่า ปอดไม่สามารถกลับมาทำได้อย่างเต็มที่เช่นเดิมด้วย 

แต่ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รีบทำการรักษา ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น เป็นโรคปอดบวม ปอดติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป

เพื่อความปลอดภัยของคุณ และคนที่คุณรัก ในช่วงที่การติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง เราทุกคนจึงต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่สะอาดอยู่เสมอ ไม่ใช่สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย และงดการออกไปพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

หากคุณพบว่า ตนเองกำลังไม่สบาย มีอาการป่วยคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัส Covid-19 ให้ตรวจดูว่า ที่ผ่านมา คุณได้ออกไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือได้สัมผัสตัวผู้ที่ติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ 

หากพบว่า มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็จำเป็นต้องเข้ารับกาตรวจหาเชื้อเพื่อรีบทำการรักษา และจะได้แจ้งคนใกล้ชิดของคุณให้ทราบ เพื่อจะได้รับมือกับความเสี่ยงในการติดเชื้อร่วมด้วยต่อไป

ส่วนผู้ที่ไม่มีประวัติเสี่ยง ก็อาจลองไปตรวจร่างกายกับแพทย์เกี่ยวกับอาการป่วยที่เกิดขึ้น เพื่อขอรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ Covid-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Q&A: Similarities and differences – COVID-19 and Influenza (https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-similarities-and-differences-covid-19-and-influenza), 28 March 2020.
CDC, Understanding Influenza Viruses (https://www.cdc.gov/flu/about/viruses/index.htm), 28 March 2020.
CDC, Coronavirus(COVID-19) (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.html), 28 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ
รวม 11 ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่สาธารณะสุขประกาศ

ประเทศกลุ่มเสี่ยง Covid 19 ที่รัฐบาลประกาศ มีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม