กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ปัสสาวะแสบขัด (Dysuria)

ปัสสาวะแสบขัดเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? อันตรายไหม? มีการรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 ม.ค. 2024 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัสสาวะแสบขัด (Dysuria)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัสสาวะขัด เป็นสัญญาณความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ
  • อาการอื่นๆ ที่มักจะมีร่วมกับอาการปัสสาวะขัด ได้แก่ มีไข้สูง ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะสีขุ่น หรือมีเลือดปน เจ็บท้องน้อย
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดมีหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การทำกิจกรรมปั่นจักรยานบ่อยๆ การใช้ยาบางชนิด
  • การรักษาอาการปัสสาวะขัดจะขึ้นอยู่กับโรค หรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานยาแก้การติดเชื้อในทางเดินปัสสสาวะ การสลายนิ่วในไต
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

หลายคนคงเคยมีอาการ ปัสสาวะแสบขัด หรือเจ็บแสบเวลาปัสสาวะออกมา ซึ่งเป็นอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน จนบางครั้งทำเอาเราขยาดการเข้าห้องน้ำไปเลย อาการปัสสาวะแสบขัดนั้นเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และสาเหตุส่วนมากมักเกิดจากการอักเสบในทางเดินปัสสาวะหรือในช่องคลอด ถึงแม้จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่ความผิดปกติที่รุนแรงได้

อาการที่มาพร้อมกับปัสสาวะแสบขัด

หลายครั้งอาการปัสสาวะแสบขัดมักไม่ได้เกิดขึ้นเดี่ยวๆ แต่จะมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ที่บ่งชี้ถึงโรคหรือความผิดปกติด้วย ตัวอย่างเช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ จะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ร่วมกับอาการต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะออกมาทีละน้อย
  • ปัสสาวะขุ่น และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • บางครั้งอาจพบเลือดปนในปัสสาวะ
  • เจ็บท้องน้อย หรือบางครั้งปวดไปถึงหลังและเอว
  • มีไข้สูง หนาวสั่น พบบ่อยในผู้ที่เป็นกรวยไตอักเสบ
  • บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • มีของเหลวคล้ายตกขาวออกมาจากท่อปัสสาวะ

แต่หากสาเหตุมาจาก การอักเสบในช่องคลอดหรืออุ้งเชิงกราน ซึ่งพบในเพศหญิง จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกแสบคันที่อวัยวะเพศ
  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์จะรู้สึกเจ็บมาก
  • มีตกขาวผิดปกติ เช่น มีสีคล้ำ สีเขียวเหลือง หรือขุ่นและเหนียวคล้ายแป้งเปียก และตกขาวมีกลิ่นผิดปกติ

สาเหตุของปัสสาวะแสบขัด

สาเหตุของอาการปัสสาวะแสบขัดที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)

เป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะแสบขัดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว 

นอกจากนี้ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ การใช้สายสวนปัสสาวะ 

  • มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (Urolithiasis)

นิ่วในทางเดินปัสสาวะนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยตำแหน่งที่เกิดนิ่วมากที่สุด คือ ที่ไต โรคนิ่วไตเป็นโรคที่คนไทยเป็นกันมาก โดยเฉพาะคนอายุ 30 – 70 ปี ซึ่งหากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะแสบขัด ร่วมกับปวดท้องน้อยร้าวไปถึงสีข้าง 

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการนำนิ่วออกแล้ว ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ใหม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีการติดเชื้อในช่องคลอด หรืออุ้งเชิงกราน

เป็นโรคที่พบเฉพาะในเพศหญิง โดยสาเหตุหลักมักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อพยาธิ เช่น Candida albicans และ Trichomonas vaginalis  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเหล่านี้ คือ การรักษาสุขอนามัยไม่ดีพอ เชื้อปนเปื้อนมาจากทวารหนัก หรือติดจากการมีเพศสัมพันธ์  

  • เกิดการระคายเคืองที่อวัยวะเพศ

ความระคายเคือง เกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสียดสีที่อวัยวะเพศและปากทางท่อปัสสาวะ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การปั่นจักรยาน 

  • สาเหตุอื่นๆ

เช่น เป็นผลจากยาบางชนิด มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบน้อยมาก

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปัสสาวะแสบขัด

อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น

  • ผู้ที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาจติดเชื้อลุกลามไปที่ไต และไปยังทั่วร่างกาย กลายเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ
  • ผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นนิ่วซ้ำบ่อยๆ อาจทำให้ไตบาดเจ็บเรื้อรัง จนกลายเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) ได้
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในช่องคลอด อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้

การรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด

แนวทางการรักษาจะแบ่งเป็น การรักษาตามอาการ และ การรักษาที่สาเหตุ

การรักษาตามอาการ 

  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บแสบขณะปัสสาวะ อาการเจ็บท้อง และลดไข้
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเพิ่มปริมาณปัสสาวะ และเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

การรักษาที่สาเหตุ 

  • หากมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และในช่องคลอด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ แต่หากมีการติดเชื้อรา แพทย์จะให้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งประเภทยารับประทานและยาเหน็บ
  • หากเป็นโรคนิ่วไต และก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ จะต้องทำการสลายนิ่วหรือผ่าตัดเพื่อนำก้อนนิ่วออก

การป้องกันอาการปัสสาวะแสบขัด

  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ปัสสาวะมีความเจือจาง จะช่วยป้องกันการเกิดนิ่วที่ไต และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • ดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศให้ดี สำหรับผู้หญิง หลังขับถ่ายให้เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง และพยายามไม่ให้อวัยวะเพศอับชื้น
  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยการสวมถุงยางอนามัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดได้ 

อาการปัสสาวะขัดเป็นอาการที่สร้างความรำคาญ และไม่สบายเนื้อสบายตัวต่อผู้ป่วย ทางที่ดีเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะก็ให้รีบไปเข้าห้องน้ำ รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายทุกวัน 

และเมื่อรู้สึกผิดปกติเมื่อต้องปัสสาวะ คุณควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่อาการจะก่อความรู้สึกไม่สบายตัว และกลายเป็นโรคร้ายแรงเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะมากกว่าเดิม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล, การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/Urinary%20tract%20infection.pdf)
Bremnor JD and Sadovsky R, Evaluation of dysuria in adults (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11989635), April 2002

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม